วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายของระบบ

ความหมายของระบบ
ระบบ คือ ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์และออกแบบขึ้น
ความหมายชองวิธีระบบ....
เป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ความสำคัญของวิธีระบบวิธีระบบกลายเป็นแกนแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลักของเทคโนโลยีการศึกษา การฝึกอบรมและการให้การศึกษา เน้นไปที่ผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค เพื่อให้ได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้น

องค์ประกอบของระบบ

องค์ประกอบของระบบ
การที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้จะต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆเป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า  ข้อมูล”  เพื่อดำเนินงานสำพันธ์กันเป็น กระบวนการเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ดังนั้น  ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
1. ข้อมูลป้อนเข้า(input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหาความต้องการวัตถุประสงค์ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์
2. กระบวนการ(process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้จากการป้อนข้อมูลและกระบวนการเพื่อที่จะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

ตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ข้อมูล : ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น "บัณฑิต"
กระบวนการ : การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบในวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ
ผลลัพธ์ : นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น "บัณฑิต"
ข้อมูลป้อนกลับ : เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรนับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระบบนั้น เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่คาดว่ายังบกพร่องอยู่หรืออาจจะมีการปรับปรุงใหม่ทั้งระบบก็ได้

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด   มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวา และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้นการทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7 ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติหรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
��า�8 � � � �P� �� จารณาผลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และสามารถปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนจะสามารถตรวจสอบได้ทุกส่วนย่อยในกระบวนการและสิ่งที่ป้อน
        4.สามารถนำระบบที่ได้ทดลองใช้แล้ว ไปใช้ได้ในสภาพการณ์อื่นๆ โดยพิจารณาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะนำไปใช้ใหม่ จะช่วยในการประหยัดเวลา และการลงทุนในการสร้างระบบใหม่ขั้นทุกครั้ง
��O � � � �P� �� ิง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้
6. การประเมิน (evaluation)
6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของวิธีระบบ

ประโยชน์ของวิธีระบบ
1 ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
2 ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ทุกขั้น
3 ผู้ตรวจสอบสามารถติดตามได้ง่าย
4 ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5 ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
6 ได้สิ่งเร้าปัญหาที่ดีที่สุด
7 ทำให้การทำงานบรรลุผลได้ง่าย