วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายของระบบ

ความหมายของระบบ
ระบบ คือ ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์และออกแบบขึ้น
ความหมายชองวิธีระบบ....
เป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ความสำคัญของวิธีระบบวิธีระบบกลายเป็นแกนแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลักของเทคโนโลยีการศึกษา การฝึกอบรมและการให้การศึกษา เน้นไปที่ผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค เพื่อให้ได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้น

องค์ประกอบของระบบ

องค์ประกอบของระบบ
การที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้จะต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆเป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า  ข้อมูล”  เพื่อดำเนินงานสำพันธ์กันเป็น กระบวนการเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ดังนั้น  ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
1. ข้อมูลป้อนเข้า(input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหาความต้องการวัตถุประสงค์ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์
2. กระบวนการ(process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้จากการป้อนข้อมูลและกระบวนการเพื่อที่จะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

ตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ข้อมูล : ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น "บัณฑิต"
กระบวนการ : การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบในวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ
ผลลัพธ์ : นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น "บัณฑิต"
ข้อมูลป้อนกลับ : เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรนับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระบบนั้น เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่คาดว่ายังบกพร่องอยู่หรืออาจจะมีการปรับปรุงใหม่ทั้งระบบก็ได้

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด   มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวา และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้นการทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7 ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติหรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
��า�8 � � � �P� �� จารณาผลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และสามารถปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนจะสามารถตรวจสอบได้ทุกส่วนย่อยในกระบวนการและสิ่งที่ป้อน
        4.สามารถนำระบบที่ได้ทดลองใช้แล้ว ไปใช้ได้ในสภาพการณ์อื่นๆ โดยพิจารณาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะนำไปใช้ใหม่ จะช่วยในการประหยัดเวลา และการลงทุนในการสร้างระบบใหม่ขั้นทุกครั้ง
��O � � � �P� �� ิง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้
6. การประเมิน (evaluation)
6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของวิธีระบบ

ประโยชน์ของวิธีระบบ
1 ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
2 ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ทุกขั้น
3 ผู้ตรวจสอบสามารถติดตามได้ง่าย
4 ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5 ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
6 ได้สิ่งเร้าปัญหาที่ดีที่สุด
7 ทำให้การทำงานบรรลุผลได้ง่าย

ขั้นตอนการจัดระบบ

ขั้นตอนการจัดระบบ
1. ขั้นวิเคราะห์ระบบ(system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย
1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ เป็นการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
1.2 วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้
1.3 วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้
1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย

2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis)
2.1 เลือกวิธีหรือกลวิธีเพื่อกาทางไปสู่จุดมุ่งหมาย ทดสอบกลวิธีเพื่อปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน
2.2 การแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีแล้วก็ใช้กลวิธีนั้น ดำเนินการแก้ปัญหา
2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้
3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง
3.1 แบบจำลองแนวนอนข้อมูลกระบวนการผลลัพธ์ผลย้อนกลับ
3.2 แบบจำลองแนวนอนผลย้อนกลับผลลัพธ์กระบวนการข้อมูล
3.3 แบบจำลองแนวนอนข้อมูล 1ข้อมูล 2ข้อมูล 3กระบวนการ 1กระบวนการ 2กระบวนการ 3ผลลัพธ์ผลย้อนกลับ
3.4 แบบจำลองแบบวงกลมหรือวงรีกระบวนการผลย้อนกลับข้อมูลผลลัพธ์
3.5 แบบจำลองกึ่งแผนภูมิกึ่งรูปภาพสาระสื่อต่างๆครูผู้ปกครองชุมชนกระบวนการการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์กรอบ 1กรอบ 2กรอบ 3กรอบ 4กรอบ
4. ขั้นตอนการจำลองสถานการณ์เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง เพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง เนื่องจากถ้านำไปใช้ในสถานการณ์จริง อาจทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงานและเงิน หรืออาจเสี่ยงต่ออันตราย
คุณค่าของการจัดระบบ
        1.เป็นการประกันในการดำเนินงาน โดยดำเนินงานไปตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ เช่น ด้านเวลา งบประมาณ และบุคลากร
        2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะเป็นการช่วยลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
        3. ผู้นำระบบไปใช้สามารถพิจารณาผลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และสามารถปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนจะสามารถตรวจสอบได้ทุกส่วนย่อยในกระบวนการและสิ่งที่ป้อน
        4.สามารถนำระบบที่ได้ทดลองใช้แล้ว ไปใช้ได้ในสภาพการณ์อื่นๆ โดยพิจารณาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะนำไปใช้ใหม่ จะช่วยในการประหยัดเวลา และการลงทุนในการสร้างระบบใหม่ขั้นทุกครั้ง
��O � � � �P� �� ิง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้
6. การประเมิน (evaluation)
6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี

วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน

วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี ใช้งานได้เหมาะสมกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียนข้อมูลที่ป้อนเข้ากระบวนการผลลัพธ์ข้อมูลย้อนกลับ-ปัญหาความจำเป็น -ออกแบบ -สื่อกี่สอนที่ต้องการ-ข้อมูลของผู้เรียน -วางแผนในการผลิต -ทดสอบประสิทธิภาพ-แนวคิดในการผลิต -รวบรวมวัตถุดิบ -ประเมินผล-ทรัพยากรในการผลิต -ดำเนินการผลิต -ปรับปรุงแก้ไข-วัตถุประสงค์ -เทคนิคเฉพาะทาง -เนื้อหา -ทดสอบ/ทดลอง-เวลาและงบประมาณ -ตกแต่งปรับปรุงข้อมูลย้อนกลับผลลัพธ์กระบวนการข้อมูลที่ป้อนเข้า
2. การใช้สื่อ เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อในขณะทำการสอนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเลือกข้อมูล การใช่สื่อตามแผนที่วางไว้ การเรียนรู้ที่ต้องการ-เนื้อหา -ใช้ในเวลาที่เหมาะสม -สังเกตความสนใจของผู้เรียน-จุดมุ่งหมาย -ใช้อย่างคล่องแคล่ว -ประเมินผลและติดตามผล-ลักษณะผู้เรียน -ใช้อย่างมั่นใจแน่นอน -การปรับปรุงแก้ไข-รูปแบบการเรียน -ใช้อย่างต่อเนื่อง -ประเภทสื่อการสอน -ถ้าเป็นสื่อประเภทกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม-สภาพแวดล้อม -เมื่อใช้แล้วเก็บให้เรียบร้อยทันที-ความพร้อม-ครูผู้สอน-ผู้เรียน-สื่อการสอนข้อมูลย้อนกลับ
3. การเก็บรักษาสื่ออย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็วตรวจสอบได้ง่าย ประหยัดเวลาข้อมูลที่ป้อนเข้ากระบวนการผลลัพธ์-สื่อการเรียนการสอนที่เก็บรักษาอย่างเป็นระบบระเบียบอยู่ในสภาพดี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเป็นระบบระเบียบ-ปัญหา-การวางแผนในการเก็บรักษา-วัสดุ/อุปกรณ์-การจำแนกประเภทของสื่อ-ทรัพยากร -การเตรียมที่เก็บรักษา เช่น ตู้ ลิ้นชัก-บุคคล ผู้ใช้ ผู้เก็บรักษา-การทำทะเบียนสื่อ-ระยะเวลา-การดำเนินการเก็บ
3.1 วิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้แตกต่างกัน การเลือกเนื้อหาบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน จะช่วยกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำควรใช้ประเภทรูปภาพ ภาพวิดีทัศน์ ไม่ควรเน้นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
3.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ (state objective) เป็นความต้องการที่ตั้งไว้ เพื่อเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียนควรครอบคลุมการเรียนรู้ด้านต่างๆ ต่อไปนี้
3.2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การตัดสิน และการประเมินผล
3.2.2 ด้านจิตใจ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียน เช่น ความชอบ ความซาบซึ้ง การเห็นคุณค่า
3.2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทั้งทางด้านการใช้สมองและความรู้สึกอย่างคล่องแคล่ว
3.3 การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ
3.3.1 การเลือก การเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
3.3.2 การดัดแปลง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา วิธีสอน และลักษณะของผู้เรียน
3.3.3 การผลิต การผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของเนื้อหาบทเรียน จุดมุ่งหมายของบทเรียน ลักษณะของผู้เรียน ค่าใช้จ่าย ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะ เวลา ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิต
4. การใช้สื่อ (utilize materials) เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้
6. การประเมิน (evaluation)
6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี

ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี

ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี
เกอร์ลาช และอีลี (Gerlach; & Ely. 1971) ได้นำเสนอองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนออกเป็น 10 ประกอบ คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์เฉพาะที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ครูสามารถวัดและสังเกตได้
2. การกำหนดเนื้อหา เป็นการเลือกเนื้อหาเพื่อนำมาช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3. การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น เป็นขั้นตอนของการศึกษาข้อมูลของผู้เรียนว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ ทั้งนี้จะได้เริ่มต้นสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
4. การกำหนดกลยุทธ์การสอน ยุทธศาสตร์การสอนที่เกอร์ลาช และอีลี เสนอไว้มี 2 แบบ คือ
4.1 การสอนแบบป้อน เป็นการสอนที่ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ต่าง ๆ ทั้งหมดให้กับผู้เรียน
4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการสอนที่ครูจะมีบทบาทเป็นเพียงแต่ผู้เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ และจัดสภาพการณ์การเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
5. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน เป็นการจัดกลุ่มเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน จะทำให้เราสามารถจัดกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
6. การกำหนดเวลาเรียน จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา สถานที่ การบริการ และความสามารถ ตลอดจนความสนใจของผู้เรียน
7. การจัดสถานที่เรียน ห้องเรียนปกติโดยทั่วไปจะมีผู้เรียนประมาณ 3040 คน ซึ่งนับว่าเหมาะสมกับการสอนแบบบรรยาย แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับการสอนที่ใช้ยุทธศาสตร์แบบอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ห้องเรียนควรจะมีหลายขนาด
8. การเลือกวัสดุการสอนที่เหมาะสม ครูควรจะรู้จักเลือกสื่อและแหล่งวิทยาการที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนกับยุทธศาสตร์การสอนที่ต่างกัน
9. การประเมินผลพฤติกรรม เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้เรียนได้รับความรู้ หรือมีความเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
10. การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการพิจารณาเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

บทสรุป

บทสรุป
การทำงานใดๆก็ตาม  หากมีการจัดระเบียบขั้นตอนของการทำงานโยงใยกันอย่างเป็นระเบียบที่ถูกต้องตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้ายของการทำงานแล้ว  จะทำให้การทำงานนั้นสำเร็จเรียบร้อยไปด้วยดี  และหากเกิดปัญหาขึ้น  ก็สามารถทราบได้ว่าควรแก้ไขในขั้นตอนการทำงานจุดใด  ทั้งนี้เพราะได้มีการจัดระเบียบไว้แล้วนั้นเอง  วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าการทำงานอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามต้องการ  และหากมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว  ในการศึกษาเล่าเรียนก็เช่นเดียวกัน  เราสามารถนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงระบบการสอนให้ดีขึ้น  และยังสามารถนำมาใช้ในการออกแบบการสอนเพื่อให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย